วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2561

นวัตกรรมป้องกันข้อไหล่ติด


"นวัตกรรมจักรยานปั่นมือ"



            จะช่วยบําบัดระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยที่มีภาวะข้อไหล่ติดแข็ง ซึ่งเป็นปัญหาต่อการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ในช่วงใดช่วงหนึ่งของการเคลื่อนไหว ทําให้ข้อไหล่เกิดการ เคลื่อนไหวน้อยลง ร่วมกับมีอาการปวด ข้อไหล่ติด เกิดจากการอักเสบของเยื่อหุ้มข้อและมีการหนาตัว ของเยื่อหุ้มข้อ ทําให้ข้อไหล้เกิดการเคลื่อนไหวน้อยลง เกิดขึ้นภายหลังจากการใช้งานข้อไหล่เป็น ระยะเวลานาน หรือมากเกินไป

ประโยชน์จากการบริหารข้อไหล่ 

1. เพิ่มองศาการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ให้มีประสิทธิภาพในการเคลื่อนไหวมากขึ้น
2. เพิ่มความยืดหยุ่นของข้อไหล่
3. เพื่อลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อข้อไหล่
4. เพิ่มการหมุนเวียนของเลือดและสารอาหารไปที่ข้อต่อได้ดีขึ้นส่งผลให้อาการปวดลดลง
5. เพื่อป้องกันภาวะข้อไหล่ติด


วัตถุประสงค์ 

1. เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถบริหารกล้ามเนื้อข้อไหล่ได้ด้วยตนเอง
2. เพื่อเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวของข้อไหล่และลดอาการปวด
3. เพื่อสร้างแรงจูงใจในการบริหารข้อไหล่ด้วยตนเอง
 4. เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก ที่ไม่สามารถยกแขนได้เอง  บริหารข้อไหล่และเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก


เป้าหมาย 

1. เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีภาวะข้อไหล่ติด สามารถบริหารข้อไหล่ด้วยตัวเองเพื่อเพิ่มองศาการ เคลื่อนไหวของข้อไหล่ให้มีประสิทธิภาพในการเคลื่อนไหวมากขึ้น


วัสดุ อุปกรณ์

1. ถังสี
2. ท่อ PVC
3. เหล็กแป๊ป
4. ข้องอ 90 องศา
5. ฝาปิดท่อ PVC
 6. ใบเลื่อย
7. กาวทาท่อ
8. กระดาษสี
9. กรรไกร
10.กาวลาเท็ก


วิธีการทำ

1. ใช้ใบเลื่อย เลื่อยท่อ PVC ยาวประมาณ 40 cm จํานวน 1 ชิ้น เลื่อยท่อ PVC อีก 4 ชิ้น ยาว ประมาณ 20 cm หรือยาวตามความเหมาะสมของมือผู้ใช้
2. ตัดท่อแปบยาวประมาณ 35 cm จํานวน 1 ชิ้น
3. เจาะถังสีข้างละ 1 รู ขนาดเท่าท่อแปบ
4. สอดท่อแปบเข้าไปในรูที่เจาะไว้ แล้วสอดท่อPVC เข้าไปในท่อแปบ
5. นําข้องอ 90 องศา มาต่อท่อ PVC เพื่อทําด้ามจับ ดังรูป
6. ปรับขนาดให้พอดีกับผู้ใช้งานแล้วใช้กาวทาท่อเพื่อความแข็งแรงและคงทน
7. ใช้ฝาปิดท่อปิดบริเวณด้ามจับให้เรียบร้อย ทากาวทาท่อเพื่อความแข็งแรง


วิธีการใช้ 

1.นํานวัตกรรมตั้งบนโต๊ะ ระดับอกผู้ใช้งาน ผู้ใช้งานนั่งเก้าอี้จากนั้นผู้ใช้งานใช้มือจับด้ามจับ ค่อยๆหมุนในทิศทางที่มีการงอข้อไหล่ทําช้าๆ ทําท่านี้ 50ครั้ง/วัน

                     












วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2561

blogger_friend

โรคกระดูกพรุน 

โรคอัมพาต       

โรคข้อเข่าเสื่อม  

โรคสมองเสื่อม   

โรคซึมเศร้า       


กรุณาเรียกดูลิ้งค์ด้านล่าง




ความหมาย

        ข้อไหล่ติด (Frozen Shoulder) เป็นภาวะของข้อต่อบริเวณไหล่ติดขัด มีอาการเจ็บหรือปวดขณะเคลื่อนไหว ขยับเขยื้อนหัวไหล่ได้ลำบาก โดยพบได้ประมาณ 2-3% ในช่วงอายุ 40-60 ปี และเกิดกับผู้หญิงได้มากกว่าผู้ชาย

อาการของไหล่ติด

      จะรู้สึกเจ็บหรือปวดในลักษณะตื้อ ๆ ปวดตุบ ๆ บริเวณด้านนอกของหัวไหล่และต้นแขนในบางราย โดยจะปวดมากในช่วงแรกและเมื่อมีการขยับแขน มีอาการข้อติด ทำให้เคลื่อนไหวหัวไหล่ได้ลำบากทั้งการขยับด้วยตนเองหรือมีคนช่วย โดยสามารถแบ่งอาการออกเป็น 3 ระยะ
  • ระยะที่ 1 (Freezing) ผู้ป่วยมีอาการเจ็บหรือปวดขึ้นอย่างช้า ๆ โดยเป็นมากในเวลากลางคืนและเวลาล้มตัวนอน จากนั้นจะเริ่มปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ จนไม่อยากขยับบริเวณหัวไหล่ ระยะนี้จะคงอยู่ประมาณ 2-9 เดือน
  • ระยะที่ 2 (Frozen) อาการปวดค่อย ๆ ลดลง แต่การเคลื่อนไหวของหัวไหล่ทำได้ลำบากมากขึ้นในทุกทิศทาง มีอาการข้อยึดตามมา และกล้ามเนื้อรอบหัวไหล่เสื่อมลง เพราะไม่ได้ถูกใช้งาน ซึ่งระยะนี้อาจคงอยู่ประมาณ 4-12 เดือน และส่งผลให้ใช้ชีวิตประจำวันได้ลำบากขึ้น
  • ระยะที่ 3 (Thawing) เป็นระยะฟื้นตัว อาการปวดและข้อยึดค่อย ๆ หายไป และกลับสู่ภาวะเป็นปกติ บางรายอาจเกือบหายสนิทดี โดยระยะนี้อาจมีอาการอยู่ประมาณ 1-3 ปี
       อาการในแต่ละคนจะมีความแตกต่างกันออกไปตามความรุนแรงและระยะเวลาที่เกิดอาการ ผู้ป่วยสามารถสังเกตอาการไหล่ติดได้จากการใช้งานแขนในลักษณะท่าทางต่าง ๆ แล้วรู้สึกเจ็บไหล่หรือไม่สามารถทำกิจกรรมได้ตามปกติ เช่น ล้วงกระเป๋าหลังของกางเกงที่สวมอยู่ ไม่สามารถยกแขนเพื่อหยิบของในที่สูง เอามือไขว้หลังเพื่อถูหลัง สวมใส่เสื้อผ้าหรือชุดชั้นใน ไม่สามารถกางแขนออกด้านข้างแล้วหงายฝ่ามือขึ้น หรือแม้แต่สระผมด้วยตนเอง โดยปกติอาการสามารถหายไปได้เองภายใน 2-3 ปี หรือนานกว่านั้น แต่มักสร้างความลำบากต่อการใช้ชีวิตประจำวันและผู้ป่วยรู้สึกทรมานจากอาการปวด จึงไม่สามารถปล่อยให้อาการหายไปได้เอง
      หากผู้ป่วยมีอาการปวดที่หัวไหล่เรื้อรังและขยับได้ลำบาก ควรขอคำปรึกษาจากแพทย์ เพราะการตรวจวินิจฉัยพบได้ในช่วงแรกและเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสมจะช่วยป้องกันอาการปวดและข้อติดจนเคลื่อนไหวได้ลำบาก
สาเหตุของอาการไหล่ติด


      หัวไหล่เป็นข้อต่อประเภทลูกกลมและเบ้า (Ball และ Socket Joint) ที่ประกอบด้วยกระดูก 3 ส่วน ได้แก่ กระดูกต้นแขน (Humerus) กระดูกสะบัก (Scapula) และกระดูกไหปลาร้า (Clavicle) โดยมีเยื่อหุ้มข้อไหล่เป็นตัวยึดข้อต่อเข้าด้วยกันและมีน้ำไขข้อเป็นตัวช่วยหล่อลื่น เพื่อให้เคลื่อนไหวได้ง่ายมากขึ้น แต่เมื่อเยื่อหุ้มข้อไหล่เกิดอาการบวมและหนาขึ้น จึงทำให้เกิดอาการไหล่ติดตามมา ซึ่งปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่มักทำให้เกิดอาการไหล่ติดได้ง่าย ดังนี้

  • อายุและเพศ อาการไหล่ติดมักพบได้บ่อยในผู้มีอายุระหว่าง 40-60 ปี โดยจะเกิดกับเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
  • เคยผ่าตัดหรือได้รับบาดเจ็บบริเวณหัวไหล่ อาการไหล่ติดบางครั้งอาจเกิดขึ้นหลังจากการบาดเจ็บหรือหักของแขน หัวไหล่ รวมถึงเคยเข้ารับการผ่าตัดบริเวณหัวไหล่ จึงทำให้บริเวณนั้นไม่ถูกใช้งานในขณะพักฟื้น
  • โรคเบาหวาน ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมีแนวโน้มเกิดอาการไหล่ติดมากขึ้นเป็น 2 เท่ากว่าคนปกติ อาการอาจรุนแรงและรักษาได้ยาก หรืออาจพัฒนาอาการขึ้นกับไหล่ทั้ง 2 ข้าง
  • ปัญหาด้านสุขภาพอื่น ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดในสมอง โรคปอด โรคทางต่อมไทรอยด์อย่างภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Hyperthyroidism) หรือภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน มะเร็งเต้านม การหดรั้งของแผ่นเอ็นฝ่ามือ (Dupuytren's Contracture)
  • ปัญหาเกี่ยวกับไหล่ เช่น หินปูนเกาะกระดูกไหล่ (Calcific Tendonitis) เส้นเอ็นไหล่ฉีกขาด (Rotator Cuff Tear)
  • อยู่ในภาวะที่เคลื่อนไหวไม่ได้ (Immobility) ผู้ที่ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวบริเวณไหล่เป็นเวลานานจะยิ่งมีความเสี่ยงกว่าคนปกติมากขึ้น ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นบ่อยในขณะพักฟื้นร่างกาย หลังการผ่าตัด หรือแขนหัก
ลักษณะทางกายวิภาคของข้อไหล่ติด

        ข้อไหล่ช่วยให้เรายกแขนและทำให้แขนเคลื่อนไหวไปได้หลายทิศทาง ซึ่งการที่สามารถทำ เช่นนั้นได้เพราะข้อไหล่มีลักษณะเป็นเบ้าและหัวกระดูก ประกอบด้วยกระดูกต้นแขน กระดูกสะบัก และกระดูกไหปลาร้า โดยหัวของกระดูกต้นแขนจะมีลักษณะกลมและรับกับเบ้าของกระดูกสะบัก และมีน้ำไขข้อช่วยหล่อลื่นให้เคลื่อนไหวได้ง่ายขึ้น และมีถุงหุ้มข้อไหล่ ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันหุ้มเอาไว้ ในคนที่มีข้อไหล่ติดนั้นถุงหุ้มข้อไหล่นี้จะหนาตัวและแข็ง นอกจากนี้ยังพบอีกว่าหลายรายมีน้ำไขข้อน้อยอีกด้วย


การวินิจฉัยอาการไหล่ติด
     แพทย์จะสอบถามอาการ ประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วย และการตรวจร่างกายทั่วไป จากนั้นจะตรวจดูบริเวณคอและไหล่ เพื่อดูการเคลื่อนไหวและความแข็งแรงของข้อต่อบริเวณนั้น โดยแพทย์จะลองขยับแขนของผู้ป่วยในทิศทางต่าง ๆ ขณะยืนหรือนอนราบ และลองให้ผู้ป่วยทำด้วยตนเองอีกครั้ง ผู้ที่มีอาการไหล่ติดจะเคลื่อนไหวทั้ง 2 แบบได้อย่างจำกัด รวมไปถึงมีการกดบริเวณหัวไหล่ เพื่อประเมินอาการปวดของผู้ป่วยว่ารุนแรงในระดับใด มีการบวม ช้ำ หรือสูญเสียกล้ามเนื้อบริเวณนั้นหรือไม่ ในกรณีที่ไม่สามารถสรุปผลได้แน่ชัด แพทย์อาจมีการตรวจด้านอื่นเพิ่มเติม เช่น
  • การตรวจเลือด (Blood Test) จะช่วยค้นหาสาเหตุที่อาจมาจากปัญหาสุขภาพบางประการ เช่น โรคเบาหวาน เพราะผู้ป่วยในโรคนี้จะมีความเสี่ยงมากกว่าคนปกติ
  • การเอกซเรย์ (X-ray) เป็นการถ่ายภาพรังสีของกระดูกและเนื้อเยื่อรอบ ๆ ข้อต่อของหัวไหล่ เพื่อดูโครงสร้างทั่วไป ทำให้แพทย์มองเห็นความผิดปกติภายใน และในบางรายอาจพบว่าอาการไหล่ติดเกิดมาจากข้ออักเสบ (Arthritis)  
  • การเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging: MRI) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า การตรวจเอ็มอาร์ไอ เป็นการเอกซเรย์บริเวณหัวไหล่ เพื่อดูความผิดปกติของกระดูก เนื้อเยื่อ และน้ำไขกระดูก โดยเฉพาะกรณีที่สงสัยว่าผู้ป่วยอาจเกิดเส้นเอ็นฉีกขาด (Rotator Cuff Tear) ซึ่งผู้ป่วยต้องนอนนิ่ง ๆ อยู่ในเครื่องตรวจเป็นเวลานานสักพัก และไม่สามารถใช้ตรวจผู้ที่สวมใส่อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีส่วนประกอบเป็นเหล็ก
การรักษาอาการไหล่ติด
    อาการไหล่ติดสามารถรักษาได้หลายวิธี แต่บางรายอาจหายได้เองโดยไม่ต้องเข้ารับการรักษา ซึ่งอาจกินเวลานาน 18-24 เดือน หรือมากกว่า ขึ้นอยู่กับระยะและความรุนแรงของอาการ โดยจุดประสงค์ของการรักษาต้องการให้ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวและใช้งานหัวไหล่ได้ใกล้เคียงกับสภาพปกติมากที่สุด
การใช้ยา
    เป็นการรักษาในช่วงแรกหรือในระยะที่ 1 ของผู้ที่มีอาการไหล่ติด เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดและลดอาการบวมให้น้อยลง โดยแบ่งกลุ่มตัวยาออกเป็น
  • ยาแก้ปวด (Pain Medicine) เช่น ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) ยาเอ็นเสด (Non-Steroidal Anti-Inflammatory Drug ยา(Ibuprofen) ยาโคเดอีนผสมพาราเซตามอล ยาบางตัวอาจมีผลข้างเคียงทำให้เกิดการเลือดออกในกระเพาะอาหารและปัญหาเกี่ยวกับไต จึงควรอ่านข้อบ่งใช้ตามฉลากข้างผลิตภัณฑ์หรือใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์
  • การฉีดยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) ในกรณีที่ยาแก้ปวดไม่ช่วยให้อาการปวดดีขึ้น แพทย์อาจฉีดยาในกลุ่มสเตียรอยด์ (Steroid) เข้าที่บริเวณหัวไหล่ เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดและลดการบวมอักเสบ โดยจะใช้ควบคู่กับยาชาเฉพาะที่  
การทำกายภาพบำบัด (Physical Therapy)
       เป็นวิธีที่ใช้รักษาผู้ที่มีอาการในระยะที่ 2-3 หรือผู้ที่มีอาการปวดอยู่มากในช่วงแรก โดยอาจเป็นการนวดบำบัด การใช้อุณหภูมิบำบัด (Thermotherapy) ด้วยการประคบร้อนหรือประคบเย็น เพื่อช่วยลดอาการปวด การยืดกล้ามเนื้อในลักษณะต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของหัวไหล่ โดยทำภายใต้คำแนะนำของนักกายภาพบำบัดในช่วงแรก และจะสอนให้ผู้ป่วยกลับไปปฏิบัติเองที่บ้านภายหลัง
ตัวอย่างท่าบริหารบรรเทาอาการไหล่ติด 
  • ท่าที่ 1
    • ยืนหลังตรง ศีรษะตรง
    • ประสานมือทั้งสองเข้าหากันบนตัก
    • ค่อยๆ ยกแขนทั้งสองข้างขึ้นเหนือศีรษะ และเหยียดแขนตรงจนสุด ให้แขนแนบหูทั้งสองข้าง
    • ค้างไว้ 10 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง
    ท่าที่ 2
    • ยืนหลังตรง ศีรษะตรง วางแขนทั้งสองข้างแนบชิดลำตัว
    • ค่อยๆ กางแขนทั้งสองข้างขึ้น เหยียดตรง ขนานกับหัวไหล่
    • จากนั้นหงายมือ และค่อยๆ ยกแขนขึ้นจนสุด ให้มือประสานกันเหนือศีรษะ โดยให้แขนแนบหูทั้งสองข้าง
    • ค้างไว้ 10 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง
    ท่าที่ 3
    • ยืนหลังตรง ศีรษะตรง
    • มือขวาจับปลายผ้าขนหนูไว้ แล้วยกมือขึ้นเหนือศีรษะพาดไปด้านหลัง
    • มือซ้ายอ้อมไปด้านหลังจับปลายผ้าขนหนูด้านล่างไว้
    • จากนั้นใช้แขนขวาดึงผ้าขนหนูขึ้น ค้างไว้ 10 วินาที
    • สลับกับใช้แขนซ้ายดึงผ้าขนหนูลง ค้างไว้ 10 วินาที
    • ทำซ้ำ 10 ครั้ง แล้วสลับข้าง
    ท่าที่ 4
    • ยืนหันข้างให้แขนที่ไม่เจ็บชิดขอบโต๊ะ แขนที่ไหล่ติดอยู่ด้านนอกก้าวขาซ้ายมาด้านหน้าเล็กน้อย
    • วางแขนที่ไม่เจ็บไว้บนโต๊ะ โน้มตัวไปข้างหน้า หมุนแขนเป็นวงกลมตามเข็มนาฬิกา 10 รอบจากนั้นหมุนแขนเป็นวงกลมทวนเข็มนาฬิกา 10 รอบเท่ากับ 1 set ให้ทำทั้งหมด 3 set/วัน   



การผ่าตัด (Surgery) และจัดกระดูกให้เข้าที่ (Manipulation Under Anaesthetic)
    เป็นการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและรักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผลนานกว่า 6 เดือน ซึ่งแพทย์กับผู้ป่วยจะต้องมีการพูดคุยและปรึกษาถึงความเสี่ยงหลายด้านก่อนเข้ารับทำการผ่าตัด เช่น ผลหลังการรักษา ผลข้างเคียงจากการผ่าตัด
    ในขั้นแรกจะต้องมีการวางยาสลบแก่ผู้ป่วย จากนั้นจะทำการผ่าตัดผ่านกล้อง โดยตัดเนื้อเยื่อบางส่วนที่เกิดความเสียหายหรือบวมในบริเวณหัวไหล่ออก บางรายอาจใช้วิธีการจัดกระดูกบริเวณไหล่ให้เข้าที่แทนการผ่าตัดผ่านกล้อง เพื่อช่วยให้เคลื่อนไหวได้ดีขึ้น หรือแพทย์อาจใช้ทั้ง 2 วิธีควบคู่ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของผู้ป่วยแต่ละราย
ภาวะแทรกซ้อนของอาการไหล่ติด
    อาการไหล่ติดแทบไม่พบภาวะแทรกซ้อน ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักได้รับผลกระทบในการใช้ชีวิตประจำวันเป็นหลัก เช่น การขับรถ การแต่งตัว การนอน การยืดเหยียดหลัง หรือแม้แต่การล้วงกระเป๋ากางเกงด้านหลังก็อาจทำไม่ได้ และในบางรายอาจกระทบต่อการทำงาน นอกจากนี้ แม้เข้ารับการรักษาก็อาจมีอาการปวดอย่างต่อเนื่องหรือมีโอกาสเกิดแขนหักในระหว่างการผ่าตัดเมื่อใช้แรงมากเกินไป
การป้องกันอาการไหล่ติด
    สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดอาการไหล่ติดได้โดยการหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บบริเวณหัวไหล่หรือกลับมาบาดเจ็บซ้ำในกรณีที่อยู่ในช่วงการรักษาตัว รวมไปถึงพยายามเคลื่อนไหวร่างกายอย่างสม่ำเสมอในช่วงที่พักฟื้น หากผู้ป่วยมีอาการบาดเจ็บรุนแรงจนทำให้ขยับแขนและไหล่ได้ลำบาก ควรขอคำปรึกษาจากแพทย์เรื่องการออกกำลังกายที่เหมาะสมในช่วงนี้

อ้างอิง


https://www.pobpad.com/%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94





นวัตกรรมป้องกันข้อไหล่ติด

"นวัตกรรมจักรยานปั่นมือ"             จะช่วยบําบัดระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยที่มีภาวะข้อไหล่ติดแข็ง ซึ่งเป็นปัญหาต่อ...